Last updated: 18 ธ.ค. 2566 | 1295 จำนวนผู้เข้าชม |
ประภาคารเกาะตะเภาน้อย ขึ้นตรงกับ กองเครื่องหมายทางเรือ ศสด.อศ. ตั้งอยู่บริเวณยอดเกาะตะเภาน้อย แลต 7 49′49′′.12 น. ลอง 98 25′37′′.10 อ. มีเนื้อที่ 58 ไร่ 2 งาน 93.5/10 ตารางวา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2442 พร้อมบ้านพักหมายเลข 1 เป็น สถาปัตยกรรม ชิโน-โปโตกีส เดิมใช้ตะเกียงน้ำมันก๊าด เปลี่ยนเป็นใช้ก๊าซเซติลีน เมื่อ พ.ศ. 2470 และเปลี่ยนเป็นใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ตัวกระโจมสร้างด้วย อิฐหอคอยคอนกรีต ทาสีขาว ลักษณะไฟเป็นไฟ วับหมู่สีขาว 2 วับทุก ๆ 20 วินาที ความสูงของตัวกระโจมจากฐานถึงตะเกียง 11 ม. ความสูงกลางตะเกียงถึงน้ำทะเลปานกลาง 68 ม. ได้รับโอนจากกรมเจ้าท่า เมื่อ พ.ศ.2462 ในรัชกาลที่ 6
ประวัติชาวเล เดิมทีบรรพบุรุษของชาวเล ได้ตั้งบ้านเรือนพักอาศัยอยู่ที่เกาะตะเภาน้อย ประมาณ ๓๐ ครัวเรือน (เมื่อราว ๒๐๐-๓๐๐ ปี) ซึ่งได้ประกอบอาชีพทางทะเล หรือหาหอย ปู ปลา ครั้งเมื่อเกิดโรคห่าระบาดขึ้นทำให้มีคนตายเป็นจำนวนมากชาวเลก็ได้ย้ายที่อาศัยมาอยู่ที่หาดตุ๊กแก ส่วนคนที่ตายก็ได้ฝั่งไว้ที่เกาะตะเภาน้อย ดังนั้น พอถึงเดือน ๔ ขึ้น ๑๓, ๑๔ ค่ำ ของทุกปีลูกหลานชาวเล ไม่ว่าอยู่สถานที่แห่งใดจะกับมาร่วมกันประกอยพิธีเส้นไหว้บรรพบุรุษ(ปู่,ย่า,ตา,ยาย) อาหารเส้นไหว้ประกอบด้วน ข้าวมัน โดยใช้ข้าวหุงกับมะพร้าว น้ำชุบ ปลาเค็ม หมากพู และยาเส้น
ประวัติป้อมปืนเกาะตะเภาน้อย ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยเยอรมัน ได้เข้ายึดครองเช็คโกสโลวาเนีย และโปรแลนด์ เมื่อ ๒๔๘๒ ทำให้ อังกฤษ, ฝรั่งเศส ประกาศสงครามกับเยอรมัน ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๘๒ เรือสินค้าขนาดใหญ่ สัญชาติอิตาเลียน ขนส่งสินค้าระหว่างยุโรป และเอเชีย จำนวน 3 ลำ ประกอบด้วยเครื่องเหล็ก, น้ำตาล และไม้กระดาน เข้าจอดในอ่าวภูเก็ต ขอหยุดเดินทางเนื่อง จากเกรงภัยจะเกิดสงคราม ซึ่งประเทศอิตาลีได้ประกาศเข้ารวมเป็นฝ่ายรวมรบกับเยอรมัน ครั้งวันที่ ๘ ธ.ค. ๒๔๘๔ ญี่ปุ่นได้เข้าโจมตีอ่าวเนิร์ลฮาร์เบอริ์ ที่หมู่เกาะฮาวาย และยกพลขึ้นบกที่ภาคใต้ ของประเทศไทย เพื่อขอนำกองทัพผ่านประเทศไทยไปโจมตีประเทศ มลายู, สิงคโปร์, พม่า และอิเดีย ซึ่งเป็นประ เทศอาณานิคมของจักรภพอังกฤษ รัฐบาลไทย นำโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากอังกฤษ และฝ่ายอังกฤษ ไม่สามารถช่วยเหลือไทยได้ เพราะมีกองกำลังอยู่เอเชียน้อย รัฐบาลไทย จึงต้องตัด สินใจยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นเข้าสู่ประเทศไทย ผ่านเข้าโจมตี มลายู, สิงคโปร์ และพม่า ในวันที่ ๘ ธ.ค. ๒๔๘๔
เรือสินค้าของอิตาลี ๓ ลำ ที่จอดอยู่ในอ่าวภูเก็ต ถูกทำลายลงโดยการตัดสินใจของกัปตัน เพื่อเกรงว่าเรือ และสินค้าในเรือจะตกไปเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายอังกฤษ กัปตัน จึงสั่งเผาเรือ ๓ ลำ เสียในเช้าวันที่ ๘ ธ.ค. ๒๔๘๔ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๕ ม.ค. ๒๔๘๕ ไทยได้ประกาศสงครามกับประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ เพื่อประโยชน์ในการพิทักษ์ทรัพย์สินและควบคุมบุคคลสัญชาติอังกฤษและสัญชาติอเมริกัน ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ในระยะหลังสงครามจะสุดสิ้นลง อังกฤษได้ส่งเรือดำน้ำเข้ามากวนเส้นทางเดินเรือ กันตัง-ภูเก็ต อันเป็นสายเลือดสำคัญที่หล่อเลี้ยงภูเก็ต เมื่อทหารญี่ปุ่น ได้ขอเข้ามาตั้งกองกำลังอยู่ในจังหวัดภูเก็ต ได้ขออนุญาตจากรัฐบาลไทยทำการกู้เรือ ๓ ลำ ที่กัปตันเรืออิตาลี เผาเรือ ๓ ลำ เสียในเช้าวันที่ ๘ ธ.ค.๒๔๘๔ ขึ้นมาใกล้ ๆ จะสำเร็จ ก็ถูกเรือดำน้ำของอังกฤษยิงด้วยตอร์ปิโด จมลงไป
ในราวเดือน ม.ค. ๒๔๘๕ ทหารญี่ปุ่น ได้ยกพลขึ้นเกาะตะเภาน้อย พร้อมเฉลยศึก ได้ทำการ จัดสร้างป้อมปืน เพื่อไว้ต่อสู่กับกองเรือรบของอังกฤษ (เป็นคำบอกเล่าของชาวเล ที่หาดตุ๊กแก ที่เคยอาศัยอยู่ที่เกาะตะเภาน้อย เมื่อ ๑๐๐ กว่าปี ที่บอกเล่าต่อ ๆ กันมา) ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ช่วงปลายเดือน เป็นช่วงที่สงครามมหาเอเชียบรูพาใกล้สิ้นสุดลงกองเรือรบอังกฤษ ประกอบด้วยเรือบรรทุกเครื่องบิน ๑ ลำ เรือคุมกันอีกไม่ทราบจำนวน ได้เคลื่อนเข้าใกล้เกาะราชาน้อย ซึ่งอยู่ทางใต้ของเกาะภูเก็ต ทำให้ทหารญี่ปุ่นต่อสู่กับกองเรือรบอังกฤษ วันที่ ๒ กันยายน 2๒๔๘๘ วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ก็กระจายข่าวให้ทราบว่า ญี่ปุ่นได้ยอมจำนนต่ออังกฤษ- อเมริกา อย่างไม่มีเงือนไข